1.2 การเลือกใช้ฮาร์ดแวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก
1. อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายขนาดเล็ก มีหลายชนิดได้แก่ การ์ดแลน ฮับ สวิตช์ โมเด็ม เราเตอร์ สายสัญญาณ ซึ่งอุปกรณ์แต่ล่ะชนิดมีคุณสมบัติแต่งต่างกันดังนี้
ที่มาของรูปภาพ : guy-ict.blogspot.com
1.1 การ์ดแลน เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปสู่คอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งโดยผ่านสายแลน
ที่มาของรูปภาพ : www.overclockzone.com
1.2 ฮับ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เสมือนกับชุมชนทางข้อมูล มีหน้าที่เป็นตัวกลางคอยส่งข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่าย
ที่มาของรูปภาพ : gueyuy.wordpress.com
1.3 สวิตช์ เป็นอุปกรณ์รวมสัญญาณเช่นเดียวกับฮับ แต่แต่กต่างจากฮับ คือ การรับส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งนั้นจะไม่กระจายไปทุกเครื่อง
ที่มาของรูปภาพ : yyweb123.wordpress.com
1.4 โมเด็ม เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณเพื่อให้สามมารถส่งผ่านสายโทรศัพท์หรือสายใยแก้วนำแสง
1.5 อุปกรณ์จัดเส้นทางหรือเราเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่ายหลายเครือข่ายเข้าด้วยกัน
1.6 สายสัญญาณ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการรับส่งข้อมูลมีหลายแบบไม่ว่าจะเป็นสายโคแอกซ์ สายตีเกลียวคู่แบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวนสายตีเกลียวคู่แบบป้องกันสัญญาณรบกวนและสายใยแก้วนำแสง.
สายโคเอ็กซ์
สาย UTP
สาย STP
สายใยแก้วนำแสง
2.การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายขนาดเล็ก ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับระบบเครือข่ายระยะใกล้ (LAN : Local Area Network)พัฒนาการของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เกิดจากการเชื่อมต่อกับเทอร์มินอล (Terminal) เข้ากับ เครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม (Mainfarm Computer) หรือเชื่อมต่อกับมินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) ซึ่งการควบคุมการสื่อสารและการประมวลผลต่างๆ จะถูกควบคุมและการดำเนินการโดยเครื่องเมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโฮสต์ (Host) โดยมีการเชื่อมโยงต่อระหว่างโฮสต์กับเทอร์มินอล
ส่วนเทอร์มินอลทำหน้าที่เป็นเพียงจุดรับข้อมูลและแสดงผลข้อมูลเท่านั้น ดังโครงสร้างการเชื่อมต่อที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างโฮสต์กับเทอร์มินอล
สำหรับเครือข่ายในปัจจุบันมีการทำงานที่มีประสิทธิภาพและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ทั้งการเข้าถึงและการใช้งานทรัพยากรที่มีอยู่บนเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ ดิสก์ หรืออุปกรณ์อื่นๆ ในปัจจุบันเรียกเทอร์มินอลที่มีความสามารถเหล่านี้ว่าโหนด (Node) ลักษณะการกระจาย การทำงาน การควบคุมไปยังโหนดของเครือข่ายนี้เป็นลักษณะการทำงานแบบการกระจายศูนย์ ซึ่งเป็นการกระจายภาระ และหน้าที่การทำงานไปยังโหนดบนเครือข่ายทั้งภายใน และภายนอกหน่วยงาน ซึ่งจะช่วยลดภาระการทำงานของโฮสต์ลงได้มาก
2.1 การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะใกล้
องค์ประกอบของระบบเครือข่ายมีทั้งส่วนที่เป็น ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software), โทโพโลยี (Topology), โปรโตคอล (Protocol) และองค์ประกอบอื่นๆ ดังนี้
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardward)
2. ซอฟต์แวร์ (Software)
3. โปรโตคอล (Protocol)
4. โทโพโลยี (Topogy)
5. ตัวกลางในการนำข้อมูล (Media)
ประโยชน์ของระบบเครือข่ายระยะใกล้
1. การประมวลผลแบบกระจายงาน ช่วยให้สถานีใช้งานร่วมกันในระบบได้ โดยไม่ไปลดความสามารถในการประมวลผลของข้อมูลแต่ละสถานี ในเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเมนเฟรมความสามารถในการประมวลผล
2. ความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร ระบบเครือข่ายท้องถิ่นมีการใช้สื่อการส่งข้อมูลของตนเอง ซึ่งส่วนมากจะใช้สายในการส่งข้อมูลมากว่าที่จะใช้สื่อสาธารณะ เช่น โทรศัพท์ หรือไมโครเวฟ ทำให้การติดต่อสื่อสารในระบบเครือข่ายมีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงมากกว่าล้านบิตต่อวินาที
3. การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมลล์ ผู้ใช้งานระบบเครือข่าย สามารถพิมพ์จดหมายบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองแล้ว ให้คอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายส่งจดหมายนั้นไปทางสายสื่อสารของเครือข่าย ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้รับจดหมายซึ่งอยู่ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยแทนบุรุษไปรษณีย์
4. ข่าวอิเล็กทรอนิกส์ การใช้งานของข่าวอิเล็กทรอนิกส์ใช้หลักการเช่นเดียวกันกับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เพียงแต่ไม่ได้ระบุชื่อผู้รับเป็นการประกาศข่าวนั้นออกไปในเครือข่าย ทางฝ่ายผู้รับก็เหมือนการรับหนังสือพิมพ์หรือวารสารต่างๆ ที่มีอยู่มากมายหลายฉบับ
5. ฐานข้อมูลร่วม เมื่อกลุ่มผู้ใช้หนึ่งต้องการให้ข้อมูลประเภทหนึ่งเปิดเผยใช้งานได้สำหรับทุกคนในกลุ่มนั้น หากกลุ่มผู้ใช้นั้นกระจายอยู่ตามเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องก็สามารถต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเป็นเครือข่าย เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถเข้าถึงข้อมูลร่วมกันได้ ตัวอย่างเช่น การใช้ห้องสมุดค้นหาเอกสารตำราที่ต้องการ ระบบเครือข่ายทำให้สามารถค้นหาในลักษณะนี้พร้อมกันหลายคนและยอมให้ผู้ที่มีสิทธิสามารถปรับแต่งแก้ไข หรือเพิ่มเติมข้อมูลได้พร้อมกัน
6. การใช้งานอุปกรณ์รับข้อมูลและแสดงผลข้อมูลร่วมกัน เครื่องมืออุปกรณ์งานคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่มีราคาสูง หากซื้อติดตั้งใช้งานควบคู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องยิ่งเพิ่มงบประมาณมากขึ้น เช่น ติดตังเครื่องพิมพ์เพื่อใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในสำนักงาน
7. ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ เป็นการบริการจัดเก็บแฟ้มอิเล็กทรอนิกส์จากที่ให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องมีจานแม่เหล็ก เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซึ่งมีราคาแพงเป็นส่วนตัวเองเพื่อเก็บข้อมูลจำนวนมาก ทำให้ต้องใช้งบประมาณแฟ้มข้อมูล หรือโปรแกรมใช้งานเหมือนกัน ซึ่งแน่นอนว่าต้องเสียเนื้อที่ของจานแม่เหล็กแต่ละเครื่องเก็บข้อมูลซ้ำกันใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เป็นไฟล์เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งมีจานแม่เหล็กความจุข้อมูลสูงจึงทำให้ข้อมูลของระบบเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
2.2 การเชื่อมต่อระยะไกล
ในการเชื่อมระบบเครือข่ายที่มีระยะทางไกล เช่น ถ้าท่านต้องการเล่นเกมส์ออนไลน์กับเพื่อนๆหรืออยากให้คอมพิวเตอร์ของสำนักงานสองแห่งติดต่อกันได้ แต่ติดที่ระยะทางมันไกล เราจะทำยังงัย? จากข้อจำกัดของสายแลนที่ไม่สามารถเดินสายให้มีความยาวมากกว่าร้อยเมตรได้ ทำให้เราต้องหาทางใหม่กัน ทางเลือกสำหรับระบบเครือข่ายที่มีระยะทางไกลๆ ก็มีใช้ท่านๆได้เลือกใช้กันอยู่ 6 แบบด้วยกันครับ
แบบแรกกันก่อนครับสำหรับแบบแรกก็คือท่านจะต้องติดตั้งอุปกรณ์ที่เรียกว่า รีพรีตเตอร์ ไว้ทุกๆ ระยะ 100 เมตร เพราะเนื่องจากข้อจำกัดที่ไม่สามารถติดตั้ง ฮับ หรือ สวิตซ์ โดย ผ่านสาย ยูทีพี ที่มีระยะห่างเกิน 100 เมตร
แบบที่สองคือใช้โมเด็ม หมุนโทรศัพท์เข้าหากัน เมื่อต้องการเชื่อมต่อ เมื่อเสร็จสิ้นธุรกิจแล้วก็ยกเลิกการเชื่อมต่อ แต่ความเร็วที่ได้ก็แค่ความสามารถของสายโทรศัพท์คือ 33.6Kbps ในกรณีที่มีการถ่ายโอนข้อมูลจำนวนมากระหว่างเครือข่าย แน่นอน อย่างช้าครับท่าน ซึ่งถ้าท่านมีข้อมูลวิ่งระหว่างเครือข่ายค่อนข้างมาก ก็น่าจะเลือกใช้การเช่าสาย ของบริษัทผู้ให้บริการ ซึ่งจะได้ความเร็วที่มากกว่า
แบบที่สามนี้ถือว่าเป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในปัจจุบัน เมื่อมันดีที่สุดก็ย่อมแพงที่สุดด้วยครับ ซึ่งคงจะเป็นใครไปเสียมิได้ นอกจากจ้าวสายไฟเบอร์ออปติก นั้นเอง ซึ่งสายชนิดนี้สามารถฉีกข้อจำกัดของการใช้สายสัญญาณแบบ Twist pare ที่มีอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือสาย ยูทีพี และสาย เอสทีพี ที่บ้านเรานิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในเรื่องของระยะทาง และความเร็วในการส่งข้อมูลที่สามารถกระทำได้เหนือกว่า และรวมไปถึงความปลอดภัยของข้อมูลด้วย เวลาที่ท่านจะติดตั้งระบบเครือข่ายโดยใช้สายไฟเบอร์ออปติก ท่านจำเป็นที่จะต้องมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า Media Converter ซึ่งอุปกรณ์ตัวนี้จะทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณจากสายทองแดง (Copper) ไปเป็นสัญญาณไฟเบอร์ออปติก โดยลักษณะนี้จะเป็นการแปลงจากระบบมาตรฐาน 10/100Base-TX ไปเป็น 100Base-FX ซึ่งสายประเภทนี้มักจะนิยมใช้ในองค์กรที่มีขนาดใหญ่และมีความสำคัญของข้อมูลมาก เช่น กองทัพ หรือ ธนาคารต่างๆ ใครที่คิดว่าจะนำมาใช้ในระบบแลนที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงไม่กี่เครื่องแล้วละก็ ผมบอกได้คำเดียวว่าเสียดายกะตังค์แทน
แบบที่สี่ Wireless Lan หรือการสื่อสารไร้สาย เป็นเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นมาเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง ข้อดีของการนำระบบ Wireless Lan มาใช้เป็นเพราะในปัจจุบันการใช้สาย CAT5 ที่นิยมใช้ในปัจจุบันซึ่งมักมีปัญหาในเรื่องของความยุ่งยากต่างๆ เช่น ถ้าสายสัญญาณขาด หรือเสียการตรวจสอบจะทำได้ยากเพราะเราต้องมานั่งหาสายที่เกิดปัญหา ยิ่งถ้าระบบมีขนาดใหญ่มากๆก็จะทำให้เสียเวลาในจุดนี้มากขึ้น อุปกรณ์ Wireless จึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อมาลดปัญหาตรงจุดนี้ แต่ Wireless LAN น่าจะเหมาะสมสำหรับการติดตั้งในพื้นที่ที่มีขนาดจำกัด มากกว่าการนำมาติดตั้งเพื่อใช้ระหว่างอาคาร อุปกรณ์แบบ Wireless ก็มีอยู่หลายแบบด้วยกันครับ อย่างเช่น Wireless Access Point , Wireless PCI Adapter , Wireless PCMCIA , Wireless Bridge , Wireless USB Adapter , Wireless PCL Card การเลือกซื้ออุปกรณ์ระบบเครือข่ายแบบไร้สายมาใช้งานมีข้อควรระวังไว้หน่อย คือ โดยปกติแล้วการทำงานแบบไร้สายจะทำงานบนมาตรฐาน 802.11b ที่มีความเร็วในการส่งสัญญาณข้อมูลสูงสุดถึง 11Mbps แต่อุปกรณ์แบบ Wireless รุ่นใหม่สามารถในการส่งสัญญาณข้อมูลได้ถึง 54Mbps ซึ่งมากกว่า Wireless แบบเก่ามาก แต่ปัญหาก็คือ อุปกรณ์ทั้งสองจะไม่สามารถทำงานร่วมกันได้
แบบที่ห้าคือเทคโนโลยี G.SHDSL ซึ่งเป็นหนึ่งเทคโนโลยีตระกูล DSL โดยเทคโนโลยี DSL นี้ก็ย่อมาจาก Digital Subscriber Line เป็นเทคโนโลยีโมเด็มที่ทำให้คู่สายทองแดงธรรมดาให้กลายเป็นสื่อสัญญาณดิจิตอล ความเร็วสูง โดยใช้เทคนิคการ เข้ารหัสสัญญาณข้อมูล (Modulation) ในย่านความถี่ที่สูงกว่า การใช้งานโทรศัพท์โดยทั่วไปทำให้สามารถส่งข้อมูลในขณะเดียวกับการใช้งานโทรศัพท์ได้ ซึ่งความสามารถพิเศษของเทคโนโลยี G.SHDSL นี้คือ สามารถช่วยให้คุณขยายวงกว้างของระบบเครือข่าย เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลได้ไกลสุดถึง 6 กิโลเมตร โดยผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดาด้วยความเร็วในการส่งข้อมูลถึง 2.3Mbps
แบบสุดท้ายที่ผมกำลังจะพูดถึงนี้เป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายล่าสุด ซึ่งท่านสามารถที่จะติดตั้งใช้งานได้เอง จึงทำให้ต้นทุนในการนำเทคโนโลยีระบบเครือข่ายแบบนี้ต่ำ เทคโนโลยีที่ว่านั้นคือเทคโนโลยีแบบ Ethernet over VDSL ซึ่งจะนำมาใช้ในการเชื่อมต่อในระบบเครือข่าย โดยเทคโนโลยีนี้สามารถที่จะเชื่อมต่อกับสายโทรศัพท์ทั่วไป ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างเครือข่ายแลนผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดาให้มีระยะทางไกลได้ถึง 1.5 กิโลเมตร ด้วยความเร็ว 10Mbps และยังสามารถรับส่งข้อมูลพร้อมกับใช้งานโทรศัพท์ในเวลาเดียวกันได้อีกด้วย
ที่มาของข้อมูล : http://loveyouna28.wordpress.com/2013/07/02/การเลือกใช้ฮาร์ดแวร์ขอ/
: http://www.computer.kku.ac.th/tip10.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น